จากตัวแบบการพยากรณ์สภาพอากาศชี้ว่าหลังจาก 3 ปีของปรากฏการณ์ลานีญา(La Nina) ในมหาสมุทรแปรซิฟิก ซึ่งอุณหภูมิทั่วไปจะต่ำลงเล็กน้อย แต่โลกจะเผชิญกับการกลับมาของ El Nino ซึ่งจะร้อนขึ้นในปลายปีนี้

คาร์โล บูออนเทมโพ ผู้อำนวยการหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป(อียู) ระบุว่าเอลนีโญจะเกิดอุณหภูมิพุ่งขึ้นในระดับโลก ทุบสถิติตามปกติ อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ หรือปีหน้า

ที่มา: GISDAคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ปรากฏการณ์ เอลนีโญเกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น

ปรากฏการณ์ ลานีญาเกิดจากกระแสลมพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมายังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตามเดิม แต่กระแสลมมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและฝนตกหนักมากกว่าปกติ ในทางตรงข้ามก็เกิดภาวะความแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้

ตามตัวแบบพยากรณ์สภาพอากาศชี้ว่าการกลับมาของสภาพเอลนีโย และเป็นไปได้ว่าจะนำไปสู่เอลนีโญแรงขึ้นในช่วงปลายปี

ปีที่สุดที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมาคือปี 2016 มาพร้อมกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่แรงขึ้น แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นตัวเร่งอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นโดยไม่เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ

ในช่วง 8 ปีหลังสุดเป็รช่วง 8 ปีที่ร้อนที่สุดของโลกเท่าที่มีการบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นยาวนานมาจากการปล่อนก๊าซเรือนกระจก

ปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น และกระทบต่อประเทศที่ประสบปัญหาจากสภาพอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้งและไฟป่า

หากเอลนีโญยังพัฒนาต่อไป ก็เป็นโอกาสที่ปีนี้ จะร้อนกว่าปี 2016 โดยโลกยังคงอุ่นขึ้นขณะที่มนุษย์ยังคงเผาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล

นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus ได้ตีพิมพ์รายงานล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีนี้ โดยประเมินว่าสภาพอากาศสุดขั้วในปีที่ผ่านมา นับเป็นปีที่โลกอุ่นที่สุดใน 5 ครั้งเท่าที่มีการบันทึก โดยยุโรปมีฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในปี 2022 ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภพาภูมิอากาศทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน และในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ระดับน้ำน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกหดตัวทำสถิติใหม่

ทั้งนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกขณะนี้อยู่สูงกว่าช่วงก่อนอุตสาหกรรม1.2 องศาเซียลเซียส